อัปเดทข่าวสาร

สมศ.เดินหน้าประเมินรอบ 4
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพ นายมณฑล สงวนเสริมศรี ประธานกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กล่าวเปิดการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่าง สมศ.และศธ. เพื่อหารือตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพรอบ 4 (ปี พ.ศ.2559-2563) โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง รองปลัด ศธ. เป็นประธานคณะทำงาน ว่า สมศ.พัฒนาตัวบ่งชี้รอบ 4 โดยคำนึงถึงองค์ประกอบหลัก ดังนี้ ความสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและแนวการปฏิรูปการศึกษา สะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษา พัฒนาระบบและกระบวนการประเมินให้ได้ผลที่ตรงตามสภาพความเป็นจริง จะพิจารณาตัวบ่งชี้รอบ 4 ให้ทันวันที่ 31 ตุลาคม พร้อมเชิญรัฐมนตรีว่าการ ศธ. มารับฟังในวันที่ 29 ตุลาคม ก่อนเริ่มประเมินในเดือนมกราคม 2559

การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว4836 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2558 เรื่อง การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต เพื่อแจ้งเกี่ยวกับการขอใช้บัญชี เพื่อบรรจุครูผู้ช่วย จากเขตพื้นที่การศึกษาที่เปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วย ครั้งที่ 2 ปี 2558 แล้ว

เปิดข้อมูล จำนวนผู้สอบผ่าน เปรียบเทียบกับ ตำแหน่งว่าง รายเขตพื้นที่ [ครูผู้ช่วย 2/2558]
ข้อมูลจากหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว4836 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2558 เรื่อง การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย เฉพาะตารางสรุปข้อมูลผลการสอบ

คลังห่วงหนี้เสียครูกระทบออมสิน
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงการคลังได้สั่งให้ธนาคารออมสินเร่งแก้ปัญหาหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อครูเป็นการเร่งด่วน หลังจากที่มีการประเมินว่าจะเกิดเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จนจะส่งผลกระทบต่อฐานะและผลการดำเนินงานของธนาคารปีนี้ได้ ปัจจุบันธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อครูเป็นวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท แต่ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้มีการประเมินว่าหากไม่เร่งดำเนินการใดๆ ยอดหนี้เสียครูอาจเพิ่มได้ถึง 8 หมื่นล้านบาท และผลจากหนี้เสียดังกล่าวจะกระทบต่อการตั้งสำรองหนี้เสียที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน ทั้งนี้ คาดว่าในเดือน พ.ย. 2558 ต้องตั้งสำรอง 8,000 ล้านบาท และในเดือน ธ.ค. 2558 อีก 1.9 หมื่นล้านบาท รวมเป็นเงินต้องตั้งสำรอง 2.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งมากกว่ากำไรทั้งปีของธนาคารออมสิน ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 1.5-1.6 หมื่นล้านบาท

กก.อำนวยการปฏิรูปฯถกลดภาระครู30ต.ค.
กก.อำนวยการปฏิรูปฯถกลดภาระครู30ต.ค. เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมหารือตัวชี้วัดการประเมินภายในสถานศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการประเมินภายใน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นายเกียรติวรรณ อมาตยกุล หัวหน้าคณะทำงานตามนโยบายลดภาระครู ได้รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวให้ที่ประชุมได้รับทราบ ถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายลดภาระครูที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เบื้องต้นมีข้อเสนอให้เขตพื้นที่ฯ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานของครูในพื้นที่ฯให้ชัดเจน จากเดิมที่ให้โรงเรียนดำเนินการเอง รวมถึงลดภาระเรื่องการประเมินสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอก ที่ครูต้องกรอกเอกสารจำนวนมาก เป็นต้น จากนี้จะนำข้อสรุปทั้งหมดเสนอคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธานพิจารณา หากคณะกรรมการอำนวยการฯ เห็นชอบในวันที่ 30 ตุลาคม ตนจะมอบนโยบายนี้ไปยังทุกเขตพื้นที่ฯ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แล้วส่งข้อเสนอแนะกลับมายังคณะทำงาน เพื่อปรับแต่งครั้งสุด

ศธ.เล็งแยกกรมวิชาการจาก สพฐ.
รมว.ศึกษาธิการ เตรียมรายงานนโยบายเดินหน้าลดเวลาเรียน และยกระดับภาษาอังกฤษ ให้ซูเปอร์บอร์ดทราบ เล็งปรับโครงสร้าง ศธ.แยกกรมวิชาการออกจาก สพฐ. วันนี้ (26ต.ค.)พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดการศึกษาที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 30ต.ค.นี้ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะนำเรื่องนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การโอนอาชีวศึกษาเอกชนมาอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และการปฏิรูปการศึกษา ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งขณะนี้ตนมีแผนอยู่ในใจแล้วว่า จะปฏิรูปอะไรอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งมีทั้งการปฏิรูประบบการจัดการศึกษา การปฏิรูประบบริหาร การปฏิรูปคน การปฎิรูประบบงบประมาณ และการปฏิรูปโครงสร้าง ซึ่งส่วนหนึ่งตนได้รับข้อเสนอจากทั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มารวมกับสิ่งที่ ศธ.คิดอย่างไรก็ตามในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างขณะนี้ยังไม่ลงตัว คงต้องหารือร่วมกับผู้บริหารองค์การหลักของ ศธ.เพื่อหาข้อสรุปก่อน