อัปเดทข่าวสาร

เกณฑ์วิทยฐานะครูแนวใหม่ ไม่เน้นเอกสารกองโต คนอื่นเสนอขอให้ได้ อนาคตอาจเหลือช่องทางนี้อย่างเดียว
จากข่าว เริ่มเห็นแววเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ และ เกณฑ์วิทยฐานะครูใหม่ชัดเป๊ะ ขอได้ถ้าสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ปี ที่ครูบ้านนอกดอทคอมได้นำเสนอกรณีที่ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการวิสามัญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ตามข้อตกลงในการพัฒนางานเลื่อนทำงานปรับปรุงหลักเกณฑ์วิทยฐานะครูใหม่ (Performance Agreement : PA) ที่ตนเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ การทำเอกสารรวบรวมผลงานครูเพื่อขอวิทยฐานะ ควรให้ครูทำเป็นกิจวัตรทุกปีการศึกษาตั้งแต่เริ่มเป็นครู ซึ่งครูที่จะสามารถขอวิทยฐานะขั้นต้น คือ ชำนาญการได้ ต้องสอนมาเป็นเวลา 8 ปีก่อน โดยภายใน 8 ปีนั้น หากครูมีผลงานเชิงประจักษ์ก็สามารถยื่นขอวิทยฐานะได้ เช่น ใช้ผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของนักเรียนที่ครูเป็นผู้สอนในการยื่น โดยคะแนนต้องอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย หรือ Mean เป็นต้น และหากจะขอระดับชำนาญการพิเศษ นักเรียนอาจจะต้องมีผลคะแนนโอเน็ตต้องสูงกว่าค่าเฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องมีการลงรายละเอียด

ชี้ปรับโครงสร้างทำข้าราชการแตกตื่น
ห่วงตำแหน่งหายกลบปฏิรูปเรียนรู้ แฉคนในทำเองไม่มีทางสำเร็จ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยสลายองค์กรหลักและกลับเป็นกรมตามเดิม โดยให้ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัด ศธ. เป็นประธานคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจ และโครงสร้าง ศธ. นั้น ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในฐานะที่ตนเป็นอนุกรรมการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... และอนุกรรมการร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574 ซึ่งได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วเกือบร้อยละ 80 ดังนั้น ขณะนี้จึงนับได้ว่าถึงเวลาที่เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการให้สอดคล้องกับกฎหมายและแผนการศึกษาชาติที่กำลังปรับปรุงอยู่ ซึ่งเน้นที่ภารกิจ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มภารกิจหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแผนการศึกษา อาทิ สภาการศึกษา 2.กลุ่มผู้กำกับการศึกษา ได้แก่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.), 3.กลุ่มผู้จัดการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น วัด มูลนิธิ ภาคเอกชน, 4.กลุ่มผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา อาทิ สำนักงานส

กิจกรรมถวายเพลและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดท่ากกแห่วิทยาราม ในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
ประมวลภาพคณาจารย์และบุคลากร คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมจิตกุศลตามกำลังศรัทธา ถวายเพลและเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดท่ากกแห่วิทยาราม ในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และขอพรจากสิ่งศักดิ์ทั่วสากลโลก โปรดดลบันดาลให้ ประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ปลอดภัย คิดใดหวังใดขอให้สมความปรารถนา ร่ำรวยเงินทองและความรู้ มีพลังในการต่อสู้ คิดดี ทำดี และพบเจอแต่สิ่งดีๆ ตลอดปี และตลอดไป https://www.facebook.com/groups/128558633866487/permalink/918933134829029/

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 1/2558
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชุม ผงผ่าน อธิการบดี ได้ให้เกียรติเป็นประธานคณะกรรมการ ในการการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 1/2558 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 613 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์

อดีตรับใช้ปัจจุบัน
อดีตรับใช้ปัจจุบัน เลาะเลียบคลองผดุงฯ ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com ประเทศไทยมีการปฏิรูปการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ปี 2558 เป็นเวลา 16 ปี มาถึงวันนี้บางเรื่องควรปรับก็ต้องปรับ แต่ต้องปฏิรูปทั้งระบบและครบทั้งกระบวนการ แม้กระทั่งการแก้ไขกฎหมาย เพื่อเพิ่มสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมฯ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมฯ มาถึงการยุบหรือไม่ยุบ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ตราบใดที่ยังไม่ได้แก้กฎหมาย ก็ต้องเดินตามแนวทางการของ สมศ. เพราะยังมีกฎหมายใช้บังคับอยู่